เคยสงสัยมั้ยครับว่าหลักเกณฑ์ที่กรมศุลกากรจะใช้ตรวจสินค้านำเข้าของเรานั้นมีอะไรบ้าง? การทำงานของกรมศุลฯนั้นถึงแม้จะดูลึกลับซับซ้อนแต่จริง ๆ ก็มีมาตราฐานในการตรวจสอบอยู่ด้วยแน่นอน ยิ่งเดี๋ยวนี้ผู้นำเข้าไม่ได้เหมือนเมื่อก่อนแล้วถ้าโดนฟ้องไปก็ซวยแหง ๆ แน่นอน ซึ่งโดยทั่วไปสินค้านำเข้าที่มักจะถูกตรวจเยอะ ๆ ก็จะมีดังนี้ครับ
1. สินค้าลักษณะแพงแต่ราคาใน Invoice ต่ำ
สินค้าที่มีราคาขายหน้าร้านสูงมักจะถูกตรวจสอบเรื่องราคาก่อนครับ ทางกรมฯเองก็จะมีราคาคร่าว ๆ ของสินค้าแต่ละชนิดอยู่แล้วหากราคาของเราผิดไปก็จะต้องมีการตรวจสอบกันเกิดขึ้น เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ราคาหน้าร้านแต่ละชิ้นสูง หากใบขนสินค้าแสดงราคาต่ำจนผิดปกติบรรดานายตรวจทั้งหลายก็จะสงสัยไว้ก่อนทั้ง ๆ ที่เราอาจจะซื้อมาในราคาถูกจริง ๆ
ทางแก้นั้นก็ไม่ยากครับ สลิปการโอนเงินและเอกสารแจกแจงรายละเอียดสินค้าช่วยคุณได้ ถ้าคุณไม่ได้ทำอะไรผิดมาจริง ๆ
2. นำเข้าสินค้าที่ใช้เอกสารยืนยันถิ่นกำเนิด
สินค้าที่ใช้เอกสารยืนยันถิ่นกำเนิดโดยเฉพาะฟอร์มอี(Form E) มักจะถูกตรวจสอบอยู่เสมอ จะเรียกว่าสงสัยก็ไม่ตรงนักเพราะเมื่อภาษีเป็น 0% ก็ต้องตรวจกันให้ครบถ้วนจะมาสวมสิทธิกันมั่ว ๆ ไม่ได้ครับ
3. ของใช้ส่วนตัว(Personal Effect)
ของใช้ส่วนตัวที่เรานำกลับมาจากต่างประเทศไม่ว่าจะไปอยู่อาศัยหรือเรียนต่อแล้วนำกลับเข้ามาในประเทศไทยล้วนตกอยู่ในข่ายที่จะต้องตรวจเข้มอยู่เสมอ เพราะบางคนก็แอบทำเป็นเนียนนำของกลับเข้ามาขายต่อบ้างหรือก็ซื้อของซะเยอะแยะจนเกินโควต้าที่กฎหมายอนุญาตไว้
หากคุณเองหรือคนรู็จักจะย้ายกลับเข้ามาในประเทศไทย ควรจะปรึกษาชิปปิ้งก่อนนะครับ บางอย่างก็นำกลับเข้ามาได้เยอะ บางอย่างก็ได้แค่ 1-2 ชิ้นครับ
4. นำเข้าสินค้าหลากหลายชนิดมาก
หลากหลายชนิดในที่นี้ผมขอให้นึกถึงร้าน 20 บาทจะเห็นภาพชัดเจนครับ นายตรวจจะตรวจสอบตู้สินค้าของเราเต็มที่เพราะของมันเยอะมากและก็มีสิทธิที่จะมีสินค้านำเข้าบางตัวที่อาจจะซุกซ่อนมา หากเราจะนำเข้าของจำนวนชนิดมากต้องจัดระเบียบสินค้าในตู้ให้ง่ายต่อการตรวจปล่อยและไม่ซุกอะไรมาครับ
5. สินค้าควบคุม
สินค้าควบคุมส่วนใหญ่ก็จะเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของคนเราทั่วไปนี่แหละครับ ไม่ว่าจะ อย. มอก. หรือสินค้าที่ใช้ได้สองทาง(ใช้ในทางปกติและใช้ในทางไม่ดี เช่น ใช้ผลิตยาเสพติดหรืออาวุธได้ด้วย)
วิธีการป้องกันเบื้องต้นสำหรับทุกกรณีที่กล่าวมานั้นไม่ยากครับ เพียงคุณในฐานะผู้นำเข้าไม่พยายามซุกซ่อนอะไรมา ไม่แอบทำราคาต่ำบนอินวอยซ์(Invoice) และปรึกษาชิปปิ้งก่อนนำเข้าทุกครั้งก็จะช่วยให้คุณไม่ต้องกังวลแล้วครับ แต่ก็มีอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องระวังไว้ด้วยคือผู้ขาย(ผู้ส่งออก)ที่มักง่าย ไม่ลงรายละเอียดสินค้าให้ชัดเจนหรือแอบแถมอะไรมาให้เราแล้วดันไม่โชว์มาในอินวอยซ์(Invoice) ถ้าเจอของแถมแบบนี้ระวังเซอร์ไพรส์!จนช๊อคตาตั้งได้เลยนะครับ
สอบถามบริการ หรือ พูดคุยปรึกษากับเราได้หลากหลายช่องทางดังนี้ครับ
LINE ID: @expt.co
FACEBOOK: @expt.co
EMAIL: [email protected]