เรามักจะคุ้นชินกับอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารต่าง ๆ เวลาจะโอนเงินทีก็เช็คแบงค์ทีใช่มั้ยละครับ แต่ว่าในการติดต่อกับกรมศุลกากรนั้นจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนของกรมศุลกากรครับ คือเมื่อเราต้องใช้เงินตราต่างประเทศกับทางกรมศุลฯ ทางกรมฯจะให้เราใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่กรมฯกำหนดไว้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ยกตัวอย่างการใช้อัตราแลกเปลี่ยนกรมศุลกากร

ยกตัวอย่างง่าย ๆ แบบนี้ครับ เช่น เรานำสินค้าเข้ามา USD 100 ตอนที่เราโอนเงินไปจ่ายผู้ขายที่ต่างประเทศ เราก็เช็คว่าธนาคาร A มีอัตราแลกเปลี่ยนเท่าไหร่ เช่น USD 1 : THB 35.500 เราก็ชำระไปตามนั้น

แต่พอเราคำนวณฐานภาษีนำเข้าสินค้า สินค้าเราก็จะต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนกรมศุลฯแทน ซึ่งกรมศุลฯ อาจจะกำหนดไว้ USD 1 : THB 35.865 ก็ได้ ซึ่งพอเราคำนวณฐานภาษีก็จะไม่ตรงกับที่เราจ่ายจริงก็ไม่ต้องกังวลไปครับว่าจะมีอะไรผิดพลาด เรื่องนี้เป็นเรื่องการใช้ตัวเลขกลางเพื่อคำนวณฐานภาษีเท่านั้น ลองคิดดูว่าถ้าต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนวันต่อวันและใช้อัตราแลกเปลี่ยนจากธนาคารเป็นสิบ ๆ แห่ง การคำนวณภาษีนำเข้าสินค้าจะวุ่นวายขนาดไหน!?!

แนะนำให้อ่าน: วิธีคิดภาษีนำเข้าแบบง่าย

ดังนั้นแล้วถ้าคุณเห็นใบขนแล้วค่าเงินมันแปลก ๆ ก็ไม่ต้องกังวลไปว่าจะโดนกินกำไร exchange rate จากชิปปิ้ง ถ้าสงสัยคุณอาจจะไปตรวจสอบได้ที่ เวปไซต์ อัตราแลกเปลี่ยนกรมศุลกากร ครับ

Previous articleบทเรียนจากการล้มของสายเรือยักษ์ใหญ่
Next articleกิจการ Logistics จะเจ๊งเพราะไม่เข้าใจ 4 เรื่องต่อไปนี้
เซลส์เฟรทฯ ผู้หันหลังให้กับ Tele-Marketing มาทุ่มเทให้กับการทำ Online Marketing แบบเต็มตัว

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here