เริ่มต้นนำเข้าอย่างมืออาชีพเป็นเรื่องต่อจาก 8 ขั้นตอนนำเข้าส่งออกที่ได้อ่านกันไปแล้ว ตอนนี้เราจะมาเปิดเผยรายละเอียดแต่ละขั้นตอนในรูปแบบการนำเข้ากันครับ
แนะนำให้อ่าน: 8 ขั้นตอนนำเข้าส่งออก
จากจุดแรกถึงจุดสุดท้ายในบทความตอนที่แล้วเราจะรู้ถึงขั้นตอนการทำงานของระบบขนส่งที่จะพาสินค้าส่งออกจากโรงงานนำเข้า มายังโรงงาน, โกดัง หรือร้านของผู้ซื้อเท่านั้น วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจทีละขั้นตอนแบบพร้อมนำไปประกอบธุรกิจนำเข้าสินค้ามาขายกันครับ
1. จะเริ่มต้นนำเข้าในนามบุคคลหรือนิติบุคคล?
การตั้งบริษัทจะทำให้คุณใช้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ในการประกอบธุรกิจได้เต็มที่ แต่การตั้งนั้นก็ไม่ใช่ง่าย ๆ หากยังไม่พร้อมก็ข้ามไปก่อนเลยครับ เมื่อไหร่ที่เริ่มขายได้จำนวนมากก็อย่าลืมที่จะวางแผนในส่วนนี้ไว้ด้วยนะครับ
ส่วนการตั้งบริษัทคุณควรจะหาสำนักงานบัญชีที่ไว้ใจได้ซักแห่งปรึกษาแต่การขนส่งนั้นต้องปรึกษาผมครับ :D
2. เลือกหาสินค้าที่คุณถนัด
สินค้าที่คุณมีความเชี่ยวชาญมากที่สุดคือสินค้าที่คุณมีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุดครับและการที่คุณถนัดอะไรก็ตามย่อมมีคอนเน็คชั่นหรือรู้วิธีทำมากที่สุด อย่าทำอะไรที่ตัวเองไม่ถนัดโดยไม่จำเป็นนะครับ
3. ค้นหาและปรึกษาผู้ให้บริการนำเข้าส่งออกและชิปปิ้ง
ขั้นตอนนี้คุณต้องปรึกษาเรื่องพิกัดภาษี สิทธิประโยชน์ทางภาษี ระยะเวลาในการขนส่ง และค่าบริการในส่วนต่าง ๆ ให้เรียบร้อย คุณต้องมั่นใจว่าคุณมีต้นทุนที่ดีอยู่ในมือเรียบร้อยแล้วเท่านั้นก่อนที่จะดำเนินการในขั้นต่อไป ถ้าต้นทุนไม่ได้หรือเป๊ะเกินไปจนขยับไม่ได้….. อย่าทำ!
เรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการนำเข้ามือใหม่ทุกรายมักจะตกม้าตายเป็นประจำก็คือภาษีนำเข้า ดังนั้นอย่าลืมให้ผู้ให้บริการขนส่งนำเข้าส่งออกหรือชิปปิ้งคำนวนคร่าว ๆ ให้ก่อนทุกครั้งนะครับ
แนะนำให้อ่าน: วิธีคิดภาษีนำเข้าแบบง่าย
แนะนำให้อ่าน: 5 เรื่องที่มือใหม่นำเข้าส่งออกมักจะเข้าใจผิดเสมอ
4. สั่งสินค้า/จ่ายมัดจำ หรือเปิด L/C
เมื่อต้นทุนครบ ข้อมูลครบทุกอย่าง คุณก็พร้อมแล้วที่จะเริ่มสั่งสินค้าล๊อตแรกครับ สำหรับออเดอร์ขนาดเล็กคุณอาจจะใช้วิธีการโอนเงินได้แต่สินค้าล๊อตใหญ่การเปิด L/C เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด อย่าทำการค้าโดยไม่มีหลักประกันความเสี่ยงเพียงเพื่อลดต้นทุนเล็กน้อยนะครับ บริการทางการเงินระหว่างประเทศก็มีให้เลือกมากมายเพียงเดินเข้าธนาคารที่คุณใช้อยู่ประจำผมว่าพวกเค้าน่าจะมีคำตอบให้คุณครับ
5. จดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าส่งออก
หลังจากสั่งสินค้าคุณจะมีเวลารอสินค้าผลิตและเดินทางมาอีกพอสมควร ช่วงนี้เป็นช่วงดีที่สุดที่คุณจะไปจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกได้ การจดทะเบียนนั้นก็ง่ายมากครับให้บริษัทขนส่งนำเข้าส่งออกหรือชิปปิ้งที่คุณใช้บริการนั่นแหละครับพาไปจด หรือติดต่อจดทะเบียนได้ที่กรมศุลกากรหรือด่านศุลกากรทั่วประเทศครับ
แนะนำให้อ่าน: จดทะเบียนผู้นำเข้าส่งออก 3 ขั้นตอน ภายใน 1 วัน
6. ส่งใบสั่งซื้อให้กับบริษัทขนส่งนำเข้าส่งออกที่คุณเลือกใช้
เมื่อสินค้าใกล้พร้อมจะทำการขนส่งแล้ว คุณก็เอาใบสั่งซื้อสินค้า(P/O, Purchase Order) หรือ ใบเรียกเก็บเงิน(P/I, Proforma Invoice) ให้กับบริษัทขนส่งนำเข้าส่งออกของคุณไปติดต่อรับสินค้าจากผู้ขายครับหรือจะส่งให้ตั้งแต่แรกก็ได้นะครับ
อีกหน้าที่สำคัญคือแจ้งว่าใครจะไปรับสินค้าของคุณกับทางผู้ขายด้วยนะครับ ทางผู้ขนส่งเค้าจะแจ้งให้เราทราบตอนที่คุณตกลงใช้บริการครับ
แนะนำให้อ่าน เข้าใจ FOB, EXW, CIF และ CFR(CNF) ได้ใน 5 นาที
7. จ่ายค่าสินค้าที่เหลือ
ถ้าไม่ได้เปิด L/C ไว้ คุณก็มีหน้าที่ไปโอนเงินส่วนที่เหลือให้กับทางผู้ขายครับ ขอให้เผื่อเวลาไว้ด้วยนะครับเพราะการโอนเงินข้ามประเทศทางธนาคารจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 วันในการทำรายการครับ
8. รอสินค้าเดินทาง
ใน Asia จะใช้เวลาในการขนส่งทางเรือประมาณ 5-20 วัน แล้วแต่ระยะทางใกล้ไกล แต่ถ้าข้ามไปทางฝั่ง Europe/America แล้ว จะใช้เวลาขนส่งทางเรือประมาณ 30-45 วันนะครับ
ส่วนทางอากาศใน Asia/Europe จะใช้เวลาเฉลี่ย 1-3 วัน และทางอเมริกาจะใช้เวลา 5-14 วันแล้วแต่ความหนาแน่นของสินค้าครับ
9. ชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขนส่ง
เมื่อสินค้ามาถึงไทยแล้วคุณก็ต้องเตรียมจ่ายค่าขนส่ง ค่าแลก D/O หรือค่าภาษีให้กับทางชิปปิ้งไปออกของครับ แนะนำว่าถ้าเจอชิปปิ้งที่ดีแล้วให้ใช้กันนาน ๆ จะได้มีเครดิตเทอมกันครับ
แนะนำให้อ่าน: Local charge ในชิปเม้นท์นำเข้ามีอะไรบ้าง?
10. ตรวจรับสินค้าอย่างละเอียด
ในกรณีสินค้ามาทางเรือแบบ LCL, Less than Container Load หรือทาง Air คนที่มีหน้าที่ตรวจคือชิปปิ้ง โดยตรวจในขั้นตอนทำพิธีการออกของครับ
ส่วนกรณี FCL Full Container Load ถ้าขนถ่ายในท่าเรือให้ชิปปิ้งทำการสำรวจและถ่ายรูป แต่หากใช้รถหัวลากขนสินค้า ทันทีที่รถมาถึงหน้าบ้านคุณ คุณต้องเริ่มเก็บหลักฐานตั้งแต่รถมาถึงเลยนะครับ
และสุดท้ายไม่ว่าคุณจะขนส่งทางไหน จำนวนมากน้อยเท่าไหร่ คุณมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยการขนส่งสินค้าทุกครั้งนะครับ
แนะนำให้อ่าน: วิธีคำนวณต้นทุนสินค้านำเข้าแบบง่าย
จบแล้วครับ ง่ายดายมากเลยใช่มั้ยละครับ ทุกขั้นตอนที่ผมอธิบายไปนั้นเป็นขั้นตอนที่ผมมักจะแนะนำคุณลูกค้าหรือคนที่มาปรึกษาผมเป็นประจำครับ หากคุณเป็นหนึ่งในมือใหม่และยังไม่มีใครให้คำปรึกษาก็ลองแอดไลน์มาคุยกันได้นะครับ คุยฟรี ไม่กัดครับ :D
สอบถามบริการ หรือ พูดคุยปรึกษากับเราได้หลากหลายช่องทางดังนี้ครับ
LINE ID: @expt.co
FACEBOOK: @expt.co
EMAIL: [email protected]