Bill of Lading(B/L) คือ ใบตราส่งสินค้าทางเรือ ใช้เพื่อแจ้งให้ทราบว่าใครคือเจ้าของสินค้า สินค้ามีจำนวนเท่าไหร่ มีอะไรบ้าง เหมือนจ่าหน้าซองจดหมายเลยครับแต่ละเอียดกว่าเพราะเป็นการค้าและมีราชการเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

เนื้อความหลักๆที่สำคัญคือ ชื่อผู้ส่งออก/ผู้นำเข้า และ รายละเอียดของสินค้า ส่วนทั้งหมดนี้ ต้องตรงกับความเป็นจริง เพื่อป้องกันปัญหา เช่น แจ้งยอดจำนวนที่มาผิด อาจโดนสำแดงเท็จ หลบเลี่ยงภาษี ดังนั้นถ้าข้อมูลผิดผู้นำเข้าจะออกของไม่ได้ ต้องไปแก้เอกสารให้ถูกต้องก่อนถึงจะมาออกของได้และเรื่องที่เกี่ยวกับราชการคุณก็รู้ว่ามันยุ่งยากแค่ไหน เสียทั้งเงินเสียทั้งเวลาเลยละครับ

เรามาดูกันครับ ว่าส่วนประกอบของ Bill of lading(B/L) มีอะไรบ้าง

bill of lading

1. ชื่อผู้ขาย/ส่งสินค้า: ใครเป็นคนส่งออกชินค้า ชื่อก็จะไปปรากฎตรงนี้ครับ

2. ชื่อผู้ซื้อ/รับสินค้า: โดยปกติก็จะเป็นชื่อบริษัทของผู้นำเข้า ยกเว้นกรณีเปิด L/C จะเป็นชื่อแบงค์ ชื่อบริษัทผู้นำเข้าจะไปอยู่ช่อง Notify Party

3. ชื่อผู้ต้องติดต่อ: โดยปกติจะใช้คำว่า “SAME AS CONSIGNEE” เพราะเป็นคนเดียวกันกับผู้นำเข้า แต่ถ้าเป็นชิปเม้นท์ที่มี L/C ชื่อผู้นำเข้าก็จะต้องมาโชว์ที่ตรงนี้แทนครับ

4. ชื่อเรือ และ วอยเรือ

5. เลขที่ B/L: เลขที่อ้างอิงที่ช่วยให้ผู้นำเข้าติดต่อกับผู้ให้บริการขนส่งง่ายขึ้นครับ

6. ชื่อเอเย่นที่ผู้ซื้อต้องไปติดต่อที่ปลายทาง: ผู้นำเข้าต้องไปติดต่อทุกเรื่องเกี่ยวกับการขนส่งที่นี่ครับ เอเย่นจะแจ้งสถานะชิปเม้นท์และเก็บค่า Local Charge กับผู้นำเข้าก่อนที่จะปล่อยเอกสารที่ชื่อว่า D/O ให้ผู้นำเข้าไปปล่อยตู้สินค้าที่ท่าเรือครับ

แนะนำให้อ่าน: Local charge ในชิปเม้นท์นำเข้ามีอะไรบ้าง?

7. ท่าเรือต้นทาง: เรือออกจากที่ท่าที่ระบุตรงนี้ครับ

8. สถานที่รับสินค้าต้นทาง: อาจเป็นสถานที่รับสินค้าที่ต้นทางหรือเป็นท่าเรือส่งออกที่ต้นทางก็ได้

9. ท่าเรือปลายทาง: ท่าเรือที่เรือจะเอาตู้ไปลง

10. ที่สุดท้ายที่สินค้าจะไปถึง: สถานที่สุดท้ายที่จะส่งมอบสินค้าอาจจะเป็นคนละที่กับท่าเรือปลายทาง

11. ลัญลักษณ์ข้างแพคเกจ เบอร์ตู้คอนเทนเนอร์และเบอร์ซีลล๊อคตู้: ชิปปิ้งมาร์กนี่สำคัญนะครับ ยิ่งในกรณีที่เราไม่ได้เหมาตู้เองทั้งใบ สินค้าของเราต้องทำเครื่องหมายมาด้วยทุกครั้งเหมือนกับการแปะอะไรซักอย่างลงไปให้รู้ว่าสินค้านี่ของเรานะ และมันยังมีผลกระทบไปยังเอกสารตัวอื่น ๆ อีกด้วย เช่น กรณีใช้ Form C/O ต่าง ๆ ดังนั้นอย่าลืมทำและตรวจความถูกต้องของ Shipping Mark บนเอกสารทุกตัวด้วยนะครับ

12. จำนวนของบรรจุภัณฑ์ เราจะใช้บรรจุภัณฑ์ด้านนอกสุดระบุในช่องนี้ครับ เช่น สินค้า 20 กล่องวางบน 1 พาเลท เราก็จะระบุว่าสินค้ามี 1 พาเลทครับ

13. รายละเอียดของสินค้า สินค้าคืออะไรอยู่ในหมวดหมู่ไหน เช่น สินค้าเป็นโต๊ะ เก้าอี้ ตู้ เตียง ก็อาจจะระบุว่าเป็นเฟอร์นิเจอร์ครับ

14. ขนาดและน้ำหนัก

15. ค่าเฟรทชำระที่ต้นทางหรือปลายทาง: ถ้าเป็นต้นทางจะระบุว่า PREPAID ถ้าเป็นปลายทางก็จะระบุว่า COLLECT ครับ

16. สถานที่และวันที่ออกเอกสารฉบับนี้

17. สถานที่และวันเรือออก

ข้อมูลหลายส่วนบน B/L จะต้องตรวจสอบให้ดีก่อนออกตัวจริงทุกครั้งนะครับ พยายามตรวจสอบให้ดีครับ หรือ หากติดปัญหาอะไรสามารถแอดไลน์มาคุยกันได้ครับ ทาง expt มีบริการจัดการนำเข้าแบบครบวงจรให้ครับ

แนะนำให้อ่าน: Original / Surrender / Telex Release / Express Bill of lading ใช้ยังไง?

Free download: bill of lading.pdf

สอบถามบริการ หรือ พูดคุยปรึกษากับเราได้หลากหลายช่องทางดังนี้ครับ
LINE ID: @expt.co
FACEBOOK: @expt.co
EMAIL: [email protected]

Previous articleมายาคติ “อย่ารักบริษัทให้มากกว่ารักตัวเอง”
Next articleเคล็ดลับ! จัดการตารางเวลานำเข้าสินค้า
เซลส์เฟรทฯ ผู้หันหลังให้กับ Tele-Marketing มาทุ่มเทให้กับการทำ Online Marketing แบบเต็มตัว