VGM, Verified Gross Mass กำลังจะเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 นี้แล้วนะครับ ตอนแรกตัวผมเองก็ไม่รู้หรอกครับว่ามันมีเรื่องอะไรกันเพราะส่วนใหญ่ผมจะทำแต่งานนำเข้า จนผมได้รับการสอบถามมาหลายทาง จึงไปค้นข้อมูลตามเวปไซต์ต่างประเทศ แล้วก็ทำเป็น FAQ ให้อ่านกันครับ ซึ่งผู้ประกอบการส่งออกควรจะต้องทำความเข้าใจกันหน่อยว่ามันมีผลบังคับใช้อย่างไร เพื่อป้องกันการโดนทิ้งตู้ไว้ที่ท่าครับ
รวมคำถามเกี่ยวกับ VGM
- VGM คืออะไร? – เอกสารรับรองน้ำหนักสินค้าและบรรจุภัณฑ์ รวมถึงน้ำหนักของตู้สินค้า(Tare Weight) นั่นคือจะต้องทำเอกสารตรวจสอบความถูกต้องของน้ำหนักตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าเรียบร้อยแล้วให้ทางสายเรือ
- ใครเป็นคนต้องทำ? – ผู้ส่งออก
- มีแบบฟอร์มให้กรอกมั้ย? – ไม่มี สายเรือจะแจ้งให้ทราบ ว่าจะเอาข้อมูลไรบ้าง และผู้ส่งออกต้องใส่ให้ครบ
- จำเป็นต้องใช้เมื่อไหร่? – จำเป็นในทุกการขนส่งทางเรือ
- ต้องส่งเอกสารให้สายเรือเมือไหร่? – ก่อนที่สายเรือจะต้อง”แปลนโหลด” ซึ่งก็ประมาณหลังจากที่บรรจุตู้เสร็จนั่นแหละครับ
- ชั่งเองชั่งยังไง? – ชั่งด้วยเครื่องชั่ง/เครื่องมืออื่นใดที่ได้รับการสอบเทียบและได้รับการรับรองจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยจะชั่งทั้งตู้ก็ได้ หรือจะค่อย ๆ ชั่งสินค้าทีละตัวก็ได้ ประมาณว่า สินค้า+พาเลท+สิ่งห่อหุ้มทุกอย่าง ชั่งทีละตัว รวมถึงอุปกรณ์จับยึดใด ๆ ที่ใช้ภายในตู้คอนเทนเนอร์(เชือกยึดไม่ให้สินค้าล้ม/เคลื่อนก็ต้องชั่ง) แล้วค่อยมารวมกับน้ำหนักตู้ทีหลัง ส่วนสินค้าที่ไม่สามารถบรรจุในหีบห่อที่จะชั่งได้ต้องชั่งทั้งตู้เท่านั้น เช่น Scarp Metal หรือ สินค้าจำพวกเทกอง เป็นต้น
- น้ำหนักตู้ดูได้จากที่ไหน? – ดูที่ตู้ครับ โดยสังเกตุที่ประตูตู้คอนเทนเนอร์ จะเขียนว่า TARE WEIGHT โดยปกติก็จะราว ๆ 2.2 ถึง 3.9 ตันครับ
- ถ้าผู้ส่งออกชั่งไม่ได้ละ –
จะต้องไปชั่งที่ท่าเรือด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งให้นำตู้ทั้งใบไปชั่งที่สถานที่ชั่งน้ำหนักที่ได้รับการรับรองจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และ ผู้ส่งออกต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย - ถ้าท่าเรือชั่งไม่ได้ละ? – สายเรือมีสิทธิปฏิเสธไม่ให้ขึ้นเรือ ซึ่งก็ไม่ได้ขึ้นแน่ ๆ ละ เพราะมันเป็นกฎ
- เอกสารเสร็จแล้วทำไงต่อ? – ผู้ส่งออก
ก็เซ็นต์รับรองลงไปเลยครับอาจลงนามเป็นลายเซ็นต์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic Signature) หรืออาจระบุชื่อบุคคลที่มีอำนาจลงนามด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ก็ได้ แล้วส่งให้ทางสายเรือ - ถ้าทำเอกสารผิดละ – ถ้ามีไรผิดพลาด ก็อยู่ที่สายเรือว่าจะปรับหรืออะไรยังไงก็ต้องว่าตามกฎ ซึ่งเสียตังแน่นอน
- ค่าปรับมีอะไรบ้าง? – ค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ที่จะทำให้ตู้สินค้าลงเรือได้ ไม่ว่าจะเป็น แพคใหม่ ค่าคืนตู้ช้า ค่าเช่าลาน บลา ๆ ๆ
ใส่น้ำหนักผิดได้เท่าไหร่? – นิดหน่อย (ไม่มีตัวเลขบอก แต่มีข้อมูลที่ไม่ได้รับการยืนยันบอกว่า 200 กิโล)- ในกรณีที่มีความแตกต่างของน้ำหนัก – หากน้ำหนักที่ได้รับการตรวจรับรองแล้วของเรา ไม่ตรงกับที่ชั่งในท่าเรือ ให้ใช้น้ำหนักที่ชั่งจากสถานที่อำนวยความสะดวกในท่าเรือ
***ข้อความจากในประกาศกรมเจ้าท่า ข้อ ๙.๒ ความแตกต่างระหว่างน้ำหนักมวลรวมที่ได้รับการตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าซึ่งแสดงไว้ก่อนการส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ไปยังที่อำนายความสะดวกในท่าเรือ และน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์อันได้จากการชั่งน้ำหนักของที่อำนวยความสะดวกในท่าเรือ ให้เป็นอันยุติด้วยการใช้น้ำหนักมวลรวมที่ได้รับรองครั้งหลังสุดโดนที่อำนวยความสะดวกในท่าเรือ*** - ถ้าตัวเลขไม่ตรงกับใบขนล่ะ? –
ไม่เป็นไรจ้าไม่ได้กำหนดไว้ - ทำไมต้องมีการทำเรื่องยืนยันน้ำหนักให้วุ่นวาย? – เพราะมีการกระจายน้ำหนักไม่เหมาะสม เป็นเหตุให้เรือล่ม โดยเฉพาะพวกที่แอบเนียนบรรจุน้ำหนักเกิน
- ส่งแบบ LCL ต้องทำไรบ้าง? – ไม่เกี่ยวโดยตรง ไม่ต้องทำอะไรก็ได้เพราะยังไงก็ต้องไปชั่งที่ท่าก่อนบรรจุอยู่แล้ว แต่อาจจะต้องทำการชั่งล่วงหน้าและจัดทำเอกสารยืนยันน้ำหนักให้กับทางผู้ให้บริการ และหากมีกฎระเบียบบังคับให้ผู้ให้บริการต้องทำการชั่งโดยท่าเรือเพิ่มเติม ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่สูงขึ้นอีกเล็กน้อย
- อำนาจตัดสินใจสุดท้ายอยู่ที่ใคร? – อยู่ที่นายเรือ หรือ สายเรือนั่นแหละครับ ว่าจะให้ลงเรือได้หรือไม่ หากนายเรือหรือสายเรือไม่แน่ใจก็จะต้องชั่งใหม่ด้วย ซึ่งหมายความว่าถ้าเอกสารรับรองน้ำหนักที่ทำโดยผู้ส่งออกดูแล้วไม่น่าเชื่อถือก็มีสิทธิโดนปฏิเสธได้
FREE Download: Container Specification
สรุป
VGM จะเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 และเป็นหน้าที่ของ ผู้ส่งออก ที่ต้องทำการยืนยัน “น้ำหนักสินค้า + น้ำหนักบรรจุภัณฑ์ + น้ำหนักตู้คอนเทนเนอร์” โดยต้องทำเป็นหนังสือหรือรายงานรับรองน้ำหนักให้กับสายเรือ หากทำผิดพลาดหรือไม่ทำจะต้องรับผิดชอบค่าปรับหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้สินค้าของคุณลงเรือได้ ซึ่งถ้าไม่ทำก็จะไม่ได้ลงเรือครับ
สุดท้ายนี้การปฏิบัติใช้จริงจะเป็นอย่างไร ต้องติดตามกันจากหน้างานจริงต่อไปครับ แต่โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าข้อ 14 และ 18 ที่มีข้อกำหนดเป็นติ่งไว้มีสิทธิจะต้องมีการชั่งใหม่อีกที และด้วยเหตุผลเรื่องความสะดวก ผมคาดว่าบริการชั่งที่ท่าหรือสถานที่ที่ได้รับการรับรองจะต้องเข้ามามีส่วนอย่างมากครับ
**แก้ไขเพิ่มเติม 15 มิถุนายน 2559