INCOTERMS® 2020 คือ เงื่อนไขที่เอาไว้ใช้สำหรับทำการค้าที่มีการแก้ไขปรับปรุงและเริ่มใช้ในปี 2020 ตามชื่อเลยครับ โดยมีทั้งหมด 11 กฎ สามารถใช้ได้ทั้งกับการค้าภายในประเทศ และ ต่างประเทศ ซึ่งเจ้า Incoterms® จะมีการอัปเดตอยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้ทันกับเทรนด์เศรษฐกิจโลกและมีหลายฉบับแล้วนะครับ โดยฉบับที่แล้วได้เริ่มใช้ตั้งแต่ ปี 2010 และ 10 ปีต่อมา เราก็มีฉบับ 2020 ฉบับนี้นั่นเอง
**เนื่องจากเราเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก จึงขอเน้นเพียงการใช้ระหว่างประเทศเท่านั้นนะครับ**
สำหรับคอนเซปที่กล่าวไปแต่แรกว่าเป็นเงื่อนไขสำหรับการค้า ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเพื่อให้ทุกคนใช้เป็นแนวทางเดียวกัน ป้องกันทั้งความสับสนและเพื่อให้ง่ายต่อการทำการค้าเป็นจุดประสงค์หลัก แบบที่เรามีแบบแผนในการทำงานเหมือนกันทั้งโลกนั่นเองครับ
Incoterms® 2020 มีทั้งหมด 11 ข้อ ดังนี้
- EXW, EX-WORKS
- FCA, FREE CARRIER
- CPT, CARRIAGE PAID TO
- CIP, CARRIAGE AND INSURANCE PAID TO
- DAP, DILIVERED AT PLACE
- DDU, DILIVERED AT PALCE UNLOADED
- DDP, DELIVERED DUTY PAID
- FAS, FREE ALONGSIDE SHIP
- FOB, FREE ON BOARD
- CFR, COST AND FREIGHT
- CIF, COST INSURANCE AND FREIGHT
ในแต่ละกฎจะมีสิ่งสำคัญ 3 อย่างที่กำหนดไว้
ภาระหน้าที่ของผู้ขาย และ ผู้ซื้อ
ในส่วนนี้กฎแต่ละกฎจะบอกว่าผู้ส่งออกต้องทำอะไรบ้าง และผู้นำเข้าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อทำให้การซื้อขายนี้สำเร็จ อย่างเช่น ใครทำเอกสารอะไร หรือ ใครจัดหารถ ใครจัดหาเรือ เป็นต้น
การรับผิดชอบความเสี่ยง
ความเสี่ยงก็คือ เมื่อสินค้าไปอยู่ในขั้นตอนไหน ใครจะต้องเป็นคนที่รับความเสี่ยงที่สินค้าจะเสียหายนั้นไป เช่น ตกลงกันว่า ผู้ขายจะวางสินค้าไว้ที่ลานหน้าโรงงานให้ผู้ซื้อมาขนไปเอง ผู้ซื้อก็จะเริ่มรับความเสี่ยงต่อจากผู้ขายเมื่อทำการขนสินค้าขึ้นรถบรรทุกนั่นเอง ถ้าทำสินค้าหล่นขณะขนขึ้นรถผู้ซื้อก็ต้องรับผิดชอบไป แต่ถ้าฝนตกก่อนรับสินค้า ผู้ขายก็ต้องรับผิดชอบไปประมาณนี้นะครับ
ค่าใช้จ่าย
ใครจะจ่ายอะไรบ้าง คือ การหาผู้ให้บริการขนส่งในแต่ละช่วง หรือ การซื้อประกันภัยขนส่งสินค้า ว่าใครจะเป็นคนต้องทำส่วนนั้น
อาจจะอธิบายให้เห็นภาพอย่างง่าย ๆ ได้ว่า แม้ว่าเราอาจจะจ่ายเงินในส่วนของการส่งสินค้า แต่การรับความเสี่ยงอาจจะเป็นของคู่ค้าอีกฝ่ายก็ได้ เช่น ผู้ขายต้องจ้างคนขนส่งสินค้าไปจนถึงท่าเรือฝั่งของผู้ซื้อ แต่ความเสี่ยงที่สินค้าจะเสียหายได้เปลี่ยนไปอยู่ที่ผู้ซื้อตั้งแต่ท่าเรือฝั่งผู้ขาย เป็นต้น
ควรระบุให้ชัดเจนเมื่อต้องการใช้กฎ
CFR BANGKOK PORT Incoterms® 2020
[ชื่อกฎ Incoterms® 2020] ต่อด้วย [สถานที่] ต่อด้วย [Incoterms® 2020]
- ชื่อกฎใส่ปกตินะครับ ตัวย่อ 3 ตัว
- ตามด้วยจุดส่งมอบสินค้า โดย ICC แนะนำให้ระบุอย่างชัดเจนที่สุด และ ต้องเหมาะสมกับกฎที่ใช้ด้วยนะครับ
- ให้ใส่ “Incoterms® 2020″ ต่อท้ายลงไปด้วย โดย ICC แนะนำว่าให้ใส่ปีของกฎลงไปด้วยเพื่อป้องกันความสับสน ผิดพลาด หรือ ต้องอ้างอิงกฎเมื่อเกิดข้อพิพาททางกฎหมาย
จากตัวอย่าง ผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงใช้เทอม CFR โดยระบุให้ส่งถึงท่าเรือกรุงเทพ ภายใต้กฎ Incoterms® 2020 ครับ
กฎข้ออื่น ๆ จะอธิบายในบทความชิ้นต่อ ๆ ไปครับ
ข้อควรระวังในการใช้
Incoterms® 2020 เป็นแนวทางปฏิบัติในการทำการค้าเท่านั้น ไม่ใช่สัญญาการค้า เงื่อนไขต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องเฉพาะเจาะจง ต้องระบุข้อสัญญาเอาเองในสัญญาซื้อขาย เช่น วิธีการขนส่ง ค่าเงิน การผิดสัญญา และ อื่น ๆ ยิบย่อยแค่ไหน ต้องร่างสัญญากันเอาเองนะครับ
NOTE:
- สำหรับข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ให้ใช้ข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านสื่ออย่างเป็นทางการที่ผ่านการรับรองโดย ICC เท่านั้น
- บทความนี้ ไม่ได้เป็นการแปลตามตัวอักษร แต่อธิบายจากความเข้าใจของผู้เขียนเท่านั้น ไม่สามารถใช้อ้างอิงใด ๆ ได้ หากต้องการใช้เพื่ออ้างอิง กรุณาติดต่อ ICC โดยตรง
- กฎ Incoterms® และเครื่องหมายการค้า Incoterms® เป็นลิขสิทธิของ ICC การใช้เครื่องหมายการค้านี้ ไม่ได้หมายความว่ามีความร่วมมือกัน หรือ มีการสนับสนุน ระหว่างเราและ ICC แต่อย่างใด
The Incoterms® Rules are protected by copyright owned by ICC. Further information on the Incoterm® Rules may be obtained from the ICC website. Incoterms® and the Incoterms® 2020 logo are trademarks of ICC. Use of these trademarks does not imply association with, approval of or sponsorship by ICC unless specifically stated above.