การล้มละลายของบริษัทสายเรือยักษ์ใหญ่ครั้งนี้ย่อมจะสร้างความสั่นสะเทือนไม่น้อย ด้วยมูลค่าหนี้สิน 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น 8.5 เท่าของมูลค่าสินทรัพย์รวม ไม่ง่ายเลยนะครับที่จะเป็นหนี้ราว 200,000,000,000 บาทได้ เรามาดูว่าการล้มของยักษ์ตนนี้บอกอะไรเราบ้างกันดีกว่าครับ
หายนะของการแข่งขันกันด้วยราคา
“ใครถูกสุด?” ไม่ว่าจะลูกค้าหรือเฟรท เราใช้ตัววัดนี้เสมอครับ เพราะต้นทุนการขนส่งคือต้นทุนของสินค้าล๊อตนั้นนั่นแหละ ลูกค้าจะเอาถูกสุด เราก็ต้องหาถูกสุดใช่มั้ยละครับ? แต่เมื่อกดกันจนสุดแล้วนั่นก็คือต้องมีใครแบนซักคนหรือไม่ก็แบนกันทั้งระบบ ซึ่งใครแพ้ก่อนก็จะเป็นแบบนี้แหละครับ
Size is doesn’t matter
องค์กรใหญ่อุ้ยอ้ายที่ปรับตัวไม่ได้มักจะเป็นเช่นนี้เสมอคือไม่สามารถหาหนทางทำกำไรใหม่ ๆ ได้ นอกจากใช้วิธีแบบเดิม ที่ต้องบอกว่าเป็นเช่นนี้เพราะหนี้สินจำนวนมหาศาลขนาดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในวันเดียวหรือปีเดียวเสียเมื่อไหร่? และก่อนจะเป็นหนี้เกินสินทรัพย์ไปมากมาย มันก็ต้องมีสัญญาณของความถดถอยที่เริ่มจากวันที่กำไรหดลงอย่างต่อเนื่อง 3-6 เดือนแล้วต่างหาก เมื่อไหร่ก็ตามที่สัญญาณการถดถอยเริ่มขึ้นแต่ไม่มีการปรับตัวต่อให้ใหญ่แค่ไหนก็ล่มสลายได้ครับ
นวัตกรรมเป็นสิ่งจำเป็น
โลกปัจจุบันกำลังจะเข้าสู่ดิจิทัลอย่างเต็มตัวอยู่แล้ว(อย่างที่ผมพูดมาตลอด) และอุตสาหกรรมกำลังจะเปลี่ยนเข้าสู่ยุคที่ 4 ที่มี นวัตกรรมเป็นธงหลัก หมดเวลาแข่งขันกันด้วยราคาแล้วหากดึงตัวเองไม่พ้นออกไปจากการแข่งขันด้านราคาได้ ไม่ว่าใครก็จะต้องเจ๊งอย่างแน่นอนครับ
หากเราจะวัดกันว่าใครถูกที่สุด นวัตกรรมยิ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะมาเติมเต็มการลดต้นทุนเป็นอย่างมาก เพราะการลดคนก็ต้องเอาระบบอัตโนมัติเข้ามาแทนในส่วนของการทำงานด้วยคนและถ้าจะลดต้นทุนในส่วนของการขนส่งก็ต้องหาอะไรใหม่ ๆ ที่ถูกกว่ามาทดแทนต้นทุนการขนส่งที่มีอยู่เดิมด้วยครับ
รูปแบบตลาดใหม่
สังคมสมัยใหม่มีรูปแบบการใช้ชีวิตใหม่ เทรนด์โลกเป็นยังไงตลาดก็เป็นอย่างนั้น เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงอีกมาบนโลกใบนี้ทั้งเร็วและช้าสลับกันไปตามกระแสของตลาดที่นับวันจะขยายอาณาเขตใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ (Online Marketplace) ทุกวันนี้เราจะเห็นว่ามีการขนของมากขึ้นแต่จำนวนของลดลง ธุรกิจ Courier ขยายการรองรับกันทั่วบ้านทั่วเมือง การขนส่งที่เป็นเรื่องที่อยู่ตรงกลางต้องปรับเปลี่ยนให้ไว โดยเฉพาะเฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ด้วยแล้วยิ่งต้องหาอะไรใหม่ ๆ เพื่อรองรับตลาดที่เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแบบนี้ด้วยครับ
นอกจากสายเรือรายนี้ที่มีหนี้สินรุงรังแล้วสายเรืออื่นก็มีเช่นกัน ลองไปหาดูได้ครับ แม้เราก็ไม่ค่อยจะเกี่ยวกับเขาเท่าไหร่แต่ถ้าหากมีสายเรือล้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เราอาจจะเห็นค่าระวางที่ปรับตัวสูงขึ้นได้ จากข่าวในตอนนี้ ค่าเฟรท Busan – LA ปรับตัวสูงขึ้น 55% ซึ่งระยะสั้นอาจจะขึ้นเพราะขาดแคลนเรือที่จะวิ่ง แต่ระยะยาวผมเชื่อว่าต้องมีการปรับขึ้นทุกสายเรือเพื่อสะท้อนต้นทุนที่เป็นจริงมากกว่านี้ครับ