ช่วงนี้เห็นข่าวที่รู้สึกคับข้องใจมาสักพักหนึ่งแล้ว เกี่ยวกับการพัฒนาการขนส่งด้านหนึ่งของไทย … ที่มีประวัติการมีอยู่มานับร้อยๆปีแล้ว จนปัจจุบัน … รถไฟไทย …
… หลังจากโครงการการพัฒนาการคมนาคมขนาดใหญ่ มูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท ที่มีมาตั้งแต่เมื่อราวปลายปี 2556 ถูกร่างเป็น โครงการขึ้น … นับว่าเป็นความหวัง และความสิ้นหวังในเวลาเดียวกัน …
… ความหวังในการพัฒนาประเทศ … ตามแนวทางการกระจายเศรษฐกิจลงสู่ภูมิภาค ด้วยการขนสินค้า และคนลงพื้นที่ชนบท …
… ความสิ้นหวัง ทางการเงินของประเทศ … ดูจะเป็นการดำเนินการกิจการรถไฟ ตามรอย Japan National Railways (JNR) ที่เป็นโครงข่าย ขนาด 19,633.6 กิโลเมตรครอบคลุมประเทศญี่ปุ่น ด้วยโครงการขนาดใหญ่นี้ … จนถึงเมื่อปีค.ศ. 1987 JNR ตกอยู่ในสภาพเป็นหนี้ด้วยมูลค่า 27 ล้านเยน ภายใต้สภาวะการมีรายได้ 100 เยน จากค่าใช้จ่ายทุกๆ 147 เยน …
… ขาดทุนอย่างไม่ต้องสงสัย …
สาเหตุหลักๆของการขาดทุน นอกเหนือจากรายรับที่โตไม่ทันค่าใช่จ่าย และการเพิ่มของจำนวนพนักงาน … นับแต่ปี 1964 ที่เริ่มมีการดำเนินการเดินรถ Shinkansen .. การรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่น ไม่เคยมีผลประกอบการที่มีผลกำไรอีกเลย มีแต่หนี้สินที่พอกพูนสูงขึ้นเรื่อยๆ จวบจนวันสุดท้ายของการดำเนินการ JNR … การก้าวกระโดดของการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ส่งผลทางลบต่อผลกำไรของกิจการรถไฟแห่งชาติ …
… คุ้นๆสภาพนี้ไหมครับ ^^” …
… นี่ขนาดก่อนสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง เขามีกำไรนะครับ … ^^
… และในที่สุด กิจการรถไฟแห่งชาติ ก็ถูกตัดแบ่งออกเป็นการแปรรูปสู่เอกชน … เป็นบริษัทเครือ JR ที่ยิ่งใหญ่ และบริษัทน้อยใหญ่อีกมากมาย …
… และก่อน JR group จะยิ่งใหญ่เท่าปัจจุบันนี้ ก็เคยเจ็บปวดมาไม่น้อยเช่นกัน …
………………..
ผมเคยตั้งข้อ Discuss กับเพื่อนๆ ในข้อคิดขัดแย้งกัน ที่มีความเห็นว่าการกระจายคน … กับการดำเนินการทางการขนส่ง เป็น Chain หนึ่งใน Logistic เพื่อการขนของ .. ในทางไหนที่ส่งผลต่อกิจการรถไฟมากกว่ากัน …
ถ้าดูตารางที่ 2 การเพิ่มขึ้นของประชาชนผู้โดยสาร กับการลดลงเรื่อยๆของปริมาณน้ำหนักการขนส่งต่อกิโลเมตร นับแต่ปี 1970 เป็นต้นไป … ก็คงจะพอมองเห็นได้ ว่าผลการลดลงของการขนส่ง มีความสัมพันธ์กับภาวขาดทุนที่มีสูงขึ้นเรื่อยๆ
http://www.jrtr.net/jrtr22/pdf/F23_Kakumoto.pdf
… ถ้าพื้นฐานรายได้จากการขนส่งยังไม่ดีพอ … แน่นอนว่ารายได้นั้น คงไม่พอที่จะเลี้ยงระบบการเดินรถไฟให้ยั่งยืน …
… แม้กิจการการรถไฟก่อนการแปรรูปนั้น กิจการจะอยู่ในสภาพขาดทุนอย่างมโหฬาร … แต่ผลของการพัฒนานั้น ก็ได้ผลิดอกออกผลในทางอ้อม คือการกระจายความเจริญสู่ชนบท … ก็ส่งผลที่ดีในการพัฒนาเมืองที่ไกลจากเมืองหลวงออกไป …
… สรุปว่าคำตอบของทั้งเพื่อน และผม ก็คงไม่ผิดทั้งคู่ …
… หรืออาจจะผิดทั้งคู่ก็ได้ … ^^”
…………………….
… ย้อนมาบ้านเรา … ข้อแตกต่างของทั้งโครงการ 2.2 ล้านล้าน กับ 3.3 ล้านล้าน เห็นทีคงจะมีแค่เรื่องขนาดและที่มาก้อนเงินตรงนั้นมากกว่า … 2.2 ล้านล้าน มาจากที่มาเงินในช่วงเวลาสั้นๆช่วงเดียว การดำเนินการ ยาวนานตลอดโครงการ กับ 3.3 ล้านล้าน ที่ค่อยๆแปรญัติงบประมาณมาเรื่อยๆ ไม่มาเป็นก้อนในทีเดียว …
… เหมือนกดเงินสดจากบัตรเครดิต 100000 บาท ค่อยๆทีเดียวแสนนึง กับค่อยๆกด กดออกมาทีละหมื่น … กดทีละหมื่น คงโดนค่าใช้วงเงินสดบ่อยๆ แต่ดอกเบี้ยก็เสียน้อยกว่า … ในขณะที่กดทีเดียว 100000 บาท ค่าใช้วงเงินสดมันน้อย แต่ดอกเบี้ยคงบานเบิก … สรุปว่าในแง่การเงิน ไม่น่าจะหนีกันมาก … มั้ง!!! …
… คนไม่เคยโดนผู้รับเหมาชิ่งคงไม่รู้ …
… คนไม่เคยโดนดอกเบี้ยต่างๆเล่นงานหนัก ก็คงไม่รู้เช่นกัน …
… ประเทศไทย ยังไม่พ้นวิกฤติหนี้จากการต่อสู้ค่าเงิน เมื่อสมัยต้มยำกุ้งไครซิสยังจำได้มั้ยฮะ ..
… ไม่อยากขุดมาก เดี๋ยวดราม่าอีก … แค่อยากได้รถไฟแบบเคลียร์ๆ โอเคมะ … -.-
……………………………….
ก่อนที่เมืองไทย จะเริ่มเดินสู่ความเจริญ .. และวิกฤติตามรอยการรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่น … ก่อนจะถึงวิกฤต หากเตรียมทางหนีทีไล่ให้ดีๆ ก็อาจไม่เจ็บปวดกันมากนัก เมื่อถึงเวลาการเปลี่ยนแปลง …
… ล่าสุดเห็นข่าวว่าเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน .. ก็เหมือนจะเป็นหนึ่งในทางออกนะครับ เพราะมันก็เป็นทางออกจากสมัยที่ JNR พ้นวิกฤตมาได้ … ทายซิว่ามีคอมเมนต์ต่อข่าวนี้ยังไง …
… แบ่งเค้ก …
… กลุ่มทุนผูกขาด …
… นายทุนสามานย์ …
55555555555555555555555555555555555
…………….
ที่มาและแหล่งข้อมูลของเรื่องนี้
Japanese National Railways
… http://en.wikipedia.org/wiki/Japanese_National_Railways …
Ryohei Kakumoto, Sensible Politics and Transport Theory? – Japan’s National Railways in 20th Century.
… http://www.jrtr.net/jrtr22/pdf/F23_Kakumoto.pdf …
#คนไทยนับถือคนรวย
#ถ่มถุยคนรวยเช่นกัน
#คนรวยน่าสงสาร
#ไปรวยบนคอใคร
#5555555