อุบัติเหตุเกิดได้ตลอดเวลา ยิ่งสินค้าของเราเดินทางไกลเป็นพันกิโลผ่านมือแล้วมือเล่าย่อมมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุของพังหรือของหายได้เป็นธรรมดาครับ และไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ก็ตามกรมศุลกากรก็บังคับให้เราทำประกันอยู่ดี เพราะเวลาจ่ายค่าภาษี กรมศุลจะเอาราคา C.I.F., Cost Insurance Freight มาคำนวน ถ้าไม่มีก็คิดเอา 1% ของมูลค่าสินค้า(เคลมไม่ได้)มาคิดรวมในค่าภาษี ดังนั้นแล้วการซื้อประกันจึงไม่ใช่แค่ทางเลือกแต่เป็นเรื่องที่ต้องทำครับ
ทีนี้เมื่อคุณซื้อประกันแล้วคุณก็ควรจะทราบวิธีการทั้งหมดไว้ด้วย เพื่อประโยชน์ของคุณครับ
แนะนำให้อ่าน: วิธีคิดภาษีนำเข้าแบบง่าย
ขั้นตอนการเคลมประกัน
1. ซื้อประกันภัยขนส่งแบบเคลมได้
ประกันภัยขนส่งนั้นมีหลายแบบครับ มีแบบคุ้มครองตลอดเส้นทาง แค่ระหว่างประเทศ และเพื่อใช้คิดค่าภาษีเท่านั้น ความคุ้มครองก็จะแตกต่างกันไปยิ่งคุ้มครองมากเบี้ยก็จะยิ่งสูง ผมแนะนำให้เลือกซื้อแบบจัดเต็มไปเลยนะครับ เวลาเคลมจะได้ไม่ต้องมามีปัญหาว่าเกิดอุบัติเหตุตรงไหน
2. ตรวจสอบความเสียหาย
ในกรณี LCL และ Air shipment คนแรกที่จะได้เห็นสินค้าว่ามีความเสียหายหรือไม่ก็คือชิปปิ้งครับ ตรงนี้ชิปปิ้งที่ดีจะสำรวจความเรียบร้อยของสินค้าให้คุณก่อนตรวจปล่อยสินค้า หากพบความเสียหายชิปปิ้งก็จะแจ้งกลับมาที่คุณและจัดการเรื่องเอกสารการสำรวจความเสียหายที่เรียกว่า Survey note ให้กับคุณ หรือประกันบางบริษัทจะจัดส่งแผนกเซอร์เวย์ไปสำรวจหากเค้ามีบริการ ก็ลองสอบถามบริษัทประกันดูก่อนนะครับ
แนะนำให้อ่าน: 6 ข้อที่ชิปปิ้งของคุณควรมีให้ครบ
ในกรณี FCL ชิปปิ้งจะได้เห็นสินค้าเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น ก็ประมาณหน้าตู้สินค้าครับ ยกเว้นจะมีการตรวจเยอะเป็นพิเศษก็อาจจะมีการรื้อสินค้าในตู้มาตรวจมากขึ้นแต่ก็จะไม่ได้เห็นสินค้าทั้งหมดอย่างแน่นอน ดังนั้นคนที่จะเห็นสินค้าทั้งหมดก็คือผู้นำเข้าครับ ดังนั้นคุณจึงมีหน้าที่สำรวจความเรียบร้อย หากพบสินค้าชำรุด คุณต้องทำ Survey Note เองหรือเรียกบริษัทประกันมาสำรวจความเสียหายครับ
ข้อแนะนำ: เมื่อพบความเสียหายให้โทรหาประกันทันทีนะครับ
แนะนำให้อ่าน: รู้ยัง?!? ประกันจะไม่รับผิดชอบสินค้าที่นำเข้ามาหายในกรณีต่อไปนี้
3. การเตรียมเอกสาร
- จดหมายเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ระบุมูลค่าความเสียหาย ให้เราทำจดหมายแจ้งบริษัทประกันว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นกับตัวสินค้าของเราอย่างไรเป็นมูลค่าเท่าใด
- Survey note, เอกสารรายงานความเสียหาย ที่ออกโดยท่าเรือ หรือ ท่าอากาศยาน กรณี LCL ก็ให้ชิปปิ้งของคุณจัดการให้ ส่วนในกรณี FCL ก็ต้องทำเองครับและอย่าลืมแจ้งบริษัทประกันขณะพบความเสียหายทุกครั้ง เพื่อป้องกันการถูกปฎิเสธนะครับ
- กรมธรรม์ประกันภัย บริษัทประกันจะมาส่งให้เราที่ออฟฟิสก่อนที่เราจะไปเคลียของ ถ้ายังไม่ได้ก็ให้ทวงยิก ๆ ได้เลยนะครับ
- B/L, Bill of lading ใบตราส่งหากไม่มีตัวจริงก็ขอให้ทางบริษัทขนส่งส่งสำเนาที่ประทับตรายืนยันมาก็ได้นะครับ
- Invoice, ใบกำกับสินค้า
- Packing List, ใบแสดงปริมาณสินค้า
- ใบส่งสินค้า เซ็นต์รับตอนรับสินค้าจากรถที่มาส่ง
- สำเนาจดหมายเรียกร้องค่าเสียหายไปยังสายเรือและ/หรือคู่กรณี ในที่นี้ก็คือ Freight Forwarder หรือ รถขนส่งจากท่าเรือ/ท่าอากาศยานที่คุณไปใช้บริการนั่นแหละครับ หากคุณซื้อประกันผ่านพวกเค้าจะลัดขั้นตอนนี้ไปได้หรือไม่พวกเค้าก็จะออกจดหมายให้เองเลยเพราะรู้ขั้นตอนอยู่แล้ว
- รายงานหรือหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเสียหายและ/หรือสูญหาย ก็คือ Survey note ที่คุณต้องทำขึ้นมาเองเพื่อสรุปความเสียหายและเก็บหลักฐานครับ
ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนเบื้องต้นที่เป็นมาตราฐานทั่วไป บางบริษัทประกันอาจจะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป ศึกษาเงื่อนไข ข้อกำหนด และข้อยกเว้นต่าง ๆ ให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อประกันนะครับ
สอบถามบริการ หรือ พูดคุยปรึกษากับเราได้หลากหลายช่องทางดังนี้ครับ
LINE ID: @expt.co
FACEBOOK: @expt.co
EMAIL: [email protected]