เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สั่งสมจากประสบการณ์ครับ หวังว่าคงจะมีประโยชน์กับผู้นำเข้าส่งออกสำหรับการใช้ในการทำงานนะครับ :)
1. FOB Factory คือ Ex-work มักใช้กับชิปเม้นท์นำเข้าจากอเมริกา
2. Pallet มาตราฐานมีสามขนาด
80*120*15
110*110*15
100*120*15
3. 1 ปีมี 52 สัปดาห์ โดยสัปดาห์ที่ 1 จะเริ่มนับสัปดาห์ที่มีวันที่ 1 มกราคม
4. ชิปปิ้ง มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “ตัวแทนออกของ” ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Customs Broker” และ Customs clearance คือ การทำการออกของ
5. W/M มีความหมายเท่ากับ CBM-TON ย่อมาจาก Weight and Measurement แปลว่าน้ำหนักหรือขนาด
6. สินค้าขนส่งทางอากาศ เป็นไฟล์ทเดียวกันกับที่โดยสารทั่วไป ลองเปิดดูตารางบินของสายการบินทั่วไปดูได้
7. ค่าภาษีนำเข้า มี VAT 7% ด้วย
8. แม้จะใช้สิทธิภาษี 0% อย่าง Form E แต่จะมี VAT ซื้อ 7% ของมูลค่าสินค้า
9. ค่าขนส่งระหว่างประเทศ จะถูกรวมในการคิดภาษีนำเข้าด้วย
10. ถ้าไม่ทำประกันขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ กรมศุลฯจะใช้ 1% ของมูลค่าสินค้าคิดค่าประกันแทน แถมใช้เคลมสินค้าไม่ได้
11. ไฟล์ทจากอเมริกามาไทย ต้องไปเปลี่ยนเครื่อง และอาจจะใช้เวลาเดินทางถึง 14 วัน
12. EBS/CIC คือค่าใช้จ่ายของผู้ส่งออก
13. EBS ย่อมมาจาก Emergency Bunker Surcharge แปลว่าค่าน้ำมัน
14. CIC ย่อมาจาก Container Imbalance Charge แปลว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการไม่สมดุลของตู้คอนเทนเนอร์ เช่น จีนส่งออกมากจนตู้ขาดแคลน
15. น้ำเปล่า ต้องมีใบแสดงผลทดสอบเพื่อแสดงว่ามีส่วนผสมอะไรบ้างถึงจะนำเข้าส่งออกได้
16. ท่าเรือลาดกระบังเป็นท่าแห้ง คือ ใช้สำหรับบรรจุตู้คอนเทนเนอร์แล้วถึงจะส่งไปขึ้นเรือที่แหลมฉบัง
17. บริการ Courier อย่าง DHL หรือ FedEx ไม่ได้ส่งสินค้าเองทุกครั้ง แต่ใช้บริการสายการบินทั่ว ๆ ไป