Chargeable weight คือ วิธีคิดน้ำหนักของสายการบิน ที่จะนำมาใช้เมื่อขนาดสินค้าใหญ่แต่น้ำหนักของสินค้าน้อยครับ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนไม่เคยส่งสินค้าทางเครื่องบินมักจะงงกันเสมอ “สินค้าหนัก 100 กิโลเองนะ! ทำไมตอนเก็บตังถึงคิด 167 กิโลได้ล่ะ!?!” คำถามนี้มักจะถูกถามบ่อย ๆ และผมก็ต้องนั่งอธิบายกันค่อนข้างจะยุ่ง ๆ นิดหนึ่ง ก็แน่ละครับ ของ 100 กิโล จะมาเก็บเงินกัน 167 กิโล ใครจะไปยอมง่าย ๆ
แต่จริง ๆ แล้วขนาดก็มีน้ำหนักของมันด้วย ลองคิดดูว่าถ้าสินค้าใหญ่แต่น้ำหนักเบา พื้นที่ที่ควรจะบรรทุกสินค้าของคนอื่นก็หายไป สายการบินต่าง ๆ จึงต้องมีน้ำหนักของขนาดเอาไว้ใช้คิดคำนวณนั่นเองครับ
Chargeable weight คิดยังไง
จำง่าย ๆ แค่ 1 ต่อ 167
อัตราส่วนที่สายการบินต่าง ๆ จะนำมาคิดค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 1 คิวบิคเมตร เท่ากับ 167 กิโลกรัม จำไว้เพียงเท่านี้ก็พอครับ
วิธีคิด
- แปลง เซนติเมตร หรือหน่วยอื่น ๆ ให้เป็น เมตร
- นำ กว้าง x ยาว x สูง ก็จะได้คิวบิคเมตรของสินค้าเรา
- เอาคิวบิคเมตรที่ได้มาคูณ 167
ตัวอย่าง
สินค้ามีขนาด กว้าง 140 ซม. / ยาว 150 ซม. / สูง 80 ซม.
- แปลงเป็นเมตร = 1.40 เมตร / 1.50 เมตร / 0.80 เมตร
- นำไปคูณกัน = 1.40 x 1.50 x 0.80 = 1.68 คิวบิคเมตร
- เอาไปคิดเป็นน้ำหนัก = 1.68 x 167 = 280.56 กิโลกรัม
หากสินค้ามีน้ำหนักจริงน้อยกว่า 280.56 กิโลกรัม สายการบินก็จะเอา 280.56 กิโลกรัมมาคิดค่าขนส่งคุณครับ
ตอนนี้คุณก็รู้แล้วนะครับว่าทำไมอยู่ ๆ ถึงโดนคิดค่าขนส่งมากกว่าน้ำหนักจริงของตัวสินค้าในบางครั้งครับ
สอบถามบริการ หรือ พูดคุยปรึกษากับเราได้หลากหลายช่องทางดังนี้ครับ
LINE ID: @expt.co
FACEBOOK: @expt.co
EMAIL: [email protected]