ตู้คอนเทนเนอร์ คือ ภาชนะสำหรับบรรจุที่ใช้กับการขนส่งทางเรืออย่างแพร่หลาย มีหน้าที่เพื่อให้ขนส่งง่ายและปลอดภัย สำหรับผู้ประกอบการนำเข้าหรือส่งออกมือใหม่ที่เริ่มใช้ LCL บ่อย ๆ คุณอาจจะไม่รู้ว่าของ ๆ คุณก็ยัดมาในตู้เหล่านี้นี่เองและจริง ๆ แล้วตู้ขนาด 20 ฟุตนั้นอาจจะคุ้มค่ากว่าการขนส่งแบบ LCL ในบางครั้งอีกด้วยนะครับ หลังจากอ่านเรื่องนี้จบ คุณจะเข้าใจขนาดและความจุของตู้ ความหลากหลายของตู้หลายชนิดที่เหมาะกับสินค้าของคุณ รวมทั้งเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ไม่ควรจะมองข้ามครับ

1. ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ 20’GP(20 ฟุต)

ตู้ 20 ฟุตนั้นหนักประมาณ 2.2 ตัน สามารถโหลดสินค้าได้สูงสุดประมาณ 28 ตัน และมีปริมาตรสูงสุดประมาณ 33 คิวบิกเมตร เหมาะสำหรับสินค้าหนัก เช่น เครื่องจักร

2. ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ 40’GP(40 ฟุต)

ตู้ 40 ฟุตนั้นหนักประมาณ 3.8 ตัน สามารถโหลดสินค้าได้สูงสุดประมาณ 26 ตัน และมีปริมาตรสูงสุดประมาณ 67 คิวบิกเมตร เหมาะสำหรับสินค้าเบาที่มีจำนวนมาก

3. ขนาดของตู้ 40’HC(40 ฟุต ไฮคิวบ์)

ตู้ 40 ฟุตไฮคิวบ์นั้นหนักประมาณ 3.9 ตัน สามารถโหลดสินค้าได้สูงสุดประมาณ 26 ตัน และมีปริมาตรสูงสุดประมาณ 75 คิวบิกเมตร เหมาะสำหรับสินค้าเบาที่มีจำนวนมากและมีขนาดใหญ่

**น้ำหนักที่สายเรือกำหนดให้โหลดได้จริงจะอยู่ที่ราว 16 ตัว เพื่อให้น้ำหนักรวมทั้งสินค้าและตู้อยู่ที่ราว ๆ 20 ตัน นะครับ หากต้องการโหลดเต็มน้ำหนักบรรทุกสูงสุดต้องแจ้งสายเรือก่อนทำการจองตู้ครับ

4. LCL ใช้ตู้อะไร?

โดยปกติ LCL จะใช้ตู้ 40’HC(40 ฟุต ไฮคิวบ์) ในการรวมสินค้าด้วยจำนวนพื้นที่มากที่สุดและสินค้าส่วนใหญ่ที่มาเป็น LCL มักจะมีน้ำหนักเบา

5. บางครั้ง ตู้คอนเทนเนอร์ ก็มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า LCL

สินค้าที่มีขนาดประมาณ 10 CBM ขึ้นไปมักจะมีราคาค่าขนส่งระหว่าง LCL และ 20’GP ที่ใกล้เคียงกัน อย่าลืมตรวจสอบราคาทั้งสองอย่างก่อนนะครับ

6. ตู้คอนเทนเนอร์ก็มีตู้เย็นนะ

สินค้าที่เป็นพวกของสดหรือจำเป็นต้องมีการควบคุมอุณหภูมิสามารถใช้ตู้ที่เป็นตู้ทำความเย็นได้แต่ราคาก็จะสูงกว่าตู้ปกติพอสมควร และชะตาของสินค้าคุณนั้นขึ้นอยู่กับปลั๊กไฟ ดังนั้นอย่าลืมทำประกันโดยเด็ดขาด!

แนะนำให้อ่าน: Reefer Container ขนส่งสินค้าด้วยตู้ควบคุมอุณหภูมิ

7. ตู้พิเศษสำหรับสินค้าพิเศษ

สำหรับสินค้าที่ไม่ธรรมดาจะมีตูู้ที่รองรับสินค้าเหล่านี้อยู่หลายแบบแต่ราคาก็สูงตามความพิเศษเช่นกัน
– Open top คือ ตู้ที่ด้านบนเปิดโล่ง ใช้สำหรับสินค้าที่มีความสูงเป็นพิเศษ
– Flat rack คือ ตู้ที่เปิดโล่งทั้งด้านบน และด้านข้าง ใช้สำหรับสินค้าที่มีขนาดทั้งกว้างเกินไปและสูงเกินไป
– Ventilated คือ ตู้สำหรับสินค้าทางการเกษตรโดยเฉพาะ โดยจะมีช่องระบายอากาศให้ด้วย
– Tank คือ ถังบรรจุของเหลว ที่มีโครงขนาดเท่าคอนเทนเนอร์ทั่วไปครอบอยู่ เพื่อให้เหมาะกับการขนส่งร่วมกับคอนเทนเนอร์ทั่วไป

8. ขนาดของตู้แต่ละสายเรือไม่เท่ากัน

สายเรือแต่ละสายก็จะมีการสั่งทำตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตัวเอง ซึ่งแต่ละสายเรือก็จะมีขนาดของตู้ที่แตกต่างกันไปแต่จะใกล้เคียงกัน สามารถใช้ขนาดในข้อ 1, 2 และ 3 สำหรับคำนวนได้

9. ระวังสินค้าของคุณทำตู้เลอะเทอะหรือพัง

สายเรือจะมีการเก็บค่าล้างตู้เป็นปกติอยู่แล้วราว ๆ 250-800 บาท แต่ในกรณีที่สินค้าของคุณไปทำตู้ของพวกเขาเลอะเทอะมากจนต้องใช้สารเคมีล้าง หรือแค่ล้างธรรมดาไม่พออาจจะมีค่าล้าง 1,000 บาทขึ้นไป ส่วนการบรรจุของหนักมากก็ควรจะทำการยึดตรึงให้มั่นคง ถ้าตู้เสียหายขึ้นมาค่าซ่อมก็ไม่เบาเช่นกัน

10. ท่าเรือมีเครื่อง X-Ray อยู่นะ

อย่าพยายามซุกซ่อนอะไรมาแล้วไม่บอกชิปปิ้งเพราะท่าเรือรู้ว่าสินค้าภายในตู้มีอะไรบ้างด้วยเครื่อง X-Ray นะครับ ถ้าโดนจับขึ้นมา ของที่หลีกเลี่ยงแค่นิดหน่อยอาจจะทำให้ตู้ทั้งใบของคูณโดนจับ/ปรับไปด้วย

Free download: ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์

สอบถามบริการ หรือ พูดคุยปรึกษากับเราได้หลากหลายช่องทางดังนี้ครับ
LINE ID: @expt.co
FACEBOOK: @expt.co
EMAIL: [email protected]

Previous articleนำเข้าส่งออก 3D Printing เทรนด์ที่กำลังจะมา
Next article5+1 Check list + 1 Tip การใช้ฟอร์มอี Form E ลดภาษีนำเข้า
เซลส์เฟรทฯ ผู้หันหลังให้กับ Tele-Marketing มาทุ่มเทให้กับการทำ Online Marketing แบบเต็มตัว