H.S. CODE หรือ พิกัดภาษีศุลกากร คือ ภาษากลางภาษาหนึ่งของโลกนี้ที่ใช้โดยกรมศุลฯทั้งโลกนี้ครับ เหมือนกับถ้าเราพูดว่า “หน่อไม้ฝรั่ง” กรมศุลฯ จะแปลงคำว่าหน่อไม้ฝรั่งเป็น “0709.20” พอลูกค้าต่างประเทศสั่งซื้อ หน่อไม้ฝรั่งกับเรา เมื่อไปถึงบ้านเค้าก็จะใช้พิกัดภาษีศุลกากรนี้ที่แปลได้ว่า “asparagus” ในภาษาอังกฤษนั่นเอง โดยพิกัดภาษีเหล่านี้ก็ถูกกำหนด โดย WTO นะครับ ไม่ใช่ว่าประเทศไหนก็จะกำหนดขึ้นมาได้

แต่จริง ๆ แล้ว พิกัดภาษีจะใช้กันจริง ๆ ตอนทำพิธีการศุลกากร จะใช้มากกว่า 6 หลัก แบ่งแยกเป็นพิกัดย่อยลงไปอีก 2 หลัก เพื่อแยกย่อยตัวสินค้าลงไปอีกนะครับ และ แต่ละประเทศพิกัดตัวที่ 7 และ 8 อาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ แต่ 6 หลักแรกเหมือนกันแน่นอนครับ

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสินค้าเราเข้า HS CODE พิกัดไหน?

1. ค้นหาด้วยตัวเอง

กรมศุลการมีพิกัดภาษีให้เราตรวจสอบได้ครับ สามารถเข้าไปดูที่หน้าเวปไซต์ของกรมศุลกากรได้เลย ผมทำรายการด้านล่างนี้เอาไว้ให้ดูคร่าว ๆ ก่อนที่จะไปค้นหาเองครับ

หมวด 1 สัตว์มีชีวิต ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (ตอนที่ 1 – 5)
หมวด 2 ผลิตภัณฑ์จากพืช (ตอนที่ 6 -14)
หมวด 3 ไขมันและน้ำมันที่ได้จากสัตว์หรือพืช และผลิตภัณฑ์ที่แยกได้จากไขมันและน้ำมันดังกล่าวฯ (ตอนที่ 15)
หมวด 4 อาหารปรุงแต่ง เครื่องดื่ม สุรา และน้ำส้มสายชู ยาสูบ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้แทนยาสูบฯ (ตอนที่ 16 – 24)
หมวด 5 ผลิตภัณฑ์แร่ (ตอนที่ 25 – 27)
หมวด 6 ผลิตภัณฑ์ทางเคมี(ตอนที่ 28 – 38)
หมวด 7 ผลิตภัณฑ์ของพลาสติกและยาง (ตอนที่ 39 – 40)
หมวด 8 ผลิตภัณฑ์จากหนังและหนังเฟอร์ (ตอนที่ 41 – 43)
หมวด 9 ไม้และของทำด้วยไม้ (ตอนที่ 44 – 46)
หมวด 10 เยื่อไม้และกระดาษ (ตอนที่ 47 – 49)
หมวด 11 สิ่งทอและของทำด้วยสิ่งทอ (ตอนที่ 50 – 63)
หมวด 12 ของสำเร็จรูป (ตอนที่ 64 – 67)
หมวด 13 หิน ผลิตภัณฑ์เซรามิก เครื่องแก้ว (ตอนที่ 68 – 70)
หมวด 14 ไข่มุก รัตนชาติ(ตอนที่ 71)
หมวด 15 โลหะสามัญและของทำด้วยโลหะสามัญ (ตอนที่ 72 – 83)
หมวด 16 เครื่องจักร เครื่องกล อุปกรรณ์ไฟฟ้า (ตอนที่ 84 – 85)
หมวด 17 ยานบก ยานน้ำ อากาศยาน (ตอนที่ 86 – 89)
หมวด 18 อุปกรรณ์ทางทัศนศาสตร์ การแพทย์ เครื่องดนตรี นาฬิกา (ตอนที่ 90 – 92)
หมวด 19 อาวุธและกระสุน (ตอนที่ 93)
หมวด 20 ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด (ตอนที่ 94 – 96)
หมวด 21 ศิลปกรรม โบราณวัตถุ (ตอนที่ 97)

แนะนำให้อ่าน: วิธีคิดภาษีนำเข้าแบบง่าย

2. ปรึกษาชิปปิ้ง

ก่อนที่จะปรึกษาชิปปิ้งคุณต้องเตรียมเอกสารเกี่ยวกับตัวสินค้าให้ครบถ้วนเพียงพอก่อนนะครับ โดยปกติผมก็จะได้รับรูปภาพจากเวปไซต์ กับคำอธิบายคร่าว ๆ ซึ่งนั่นไม่เพียงพอเลยครับ เอกสารที่ผมต้องการ จะต้องมีอย่างน้อยก็ แคตตาล๊อกสินค้า, คำอธิบายขั้นตอนการใช้งาน และ รูปภาพที่ชัดเจน(ถ้าได้ทุกด้านของสินค้าก็จะดีมากครับ) เป็นต้นครับ

3. ให้กรมศุลกากรตรวจสอบให้

เอกสารตัวนี้เราต้องยื่นอย่างเป็นทางการนะครับ เอกสารต้องครบถ้วนเรียบร้อย จะเขียนเองแบบคร่าว ๆ อย่างตอนปรึกษาชิปปิ้งไม่ได้ ต้องมีทั้ง แคตตาล๊อก เอกสารแสดงสเปคสินค้า แจกแจงวิธีการผลิต และ เอกสารประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งจะเยอะพอสมควร ทั้งนี้เพราะเมื่อกรมศุลฯตรวจสอบให้แล้วจะออกเอกสารที่จะรับรองพิกัดภาษีของสินค้าตัวนี้ให้ด้วย ถึงตรวจสอบละเอียดมากเป็นพิเศษ โดยจะใช้เวลาประมาณ 30-60 วัน ครับ

สอบถามบริการ หรือ พูดคุยปรึกษากับเราได้หลากหลายช่องทางดังนี้ครับ
LINE ID: @expt.co
FACEBOOK: @expt.co
EMAIL: [email protected]
Google us: expt.co

Previous articleขั้นตอนการนำเข้าเครื่องสำอางต้องทำอะไรบ้าง?
Next articleNSW, National Single Window คืออะไร ทำไมต้องมี?
เซลส์เฟรทฯ ผู้หันหลังให้กับ Tele-Marketing มาทุ่มเทให้กับการทำ Online Marketing แบบเต็มตัว