CFR(CNF) และ CIF นั้นเป็นเทอมขนส่งที่กำหนดให้ผู้ส่งออกต้องส่งสินค้าจนถึงท่าเรือปลายทาง  โดย CFR(CNF) นั้นผู้ส่งออกไม่ต้องรับผิดชอบค่าประกัน แต่ CIF ผู้ส่งออกต้องทำประกัน และ ผู้นำเข้าแค่รอให้สินค้ามาถึงท่าเรือ แล้วก็ไปออกของเท่านั้นเอง ดูแล้วสะดวกสำหรับผู้นำเข้าดีนะครับ แต่ถึงจะดูง่ายแบบนี้กลับมีงานเบื้องหลังมีมากมายครับ

การจัดการเมื่อใช้ CFR(CNF) และ CIF

เริ่มต้นจากเมื่อเรือออก คุณต้องขอเอกสารที่เรียกว่า B/L, Bill of lading จากผู้ส่งออกเพื่อมาตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารแล้วก็ยืนยันกลับไปให้ต้นทางออกตัวจริง ตรงนี้คุณค้องคุยกับทางผู้ส่งออกซึ่งบางครั้งเขียนเมล์ไม่เป็นทั้งคู่ คือไม่รู้ศัพท์เฉพาะและไม่รู้ขั้นตอน ก็พากันออกทะเลไปครับ 555

หากมีเอกสารอื่น ๆ ประกอบด้วยก็อย่าลืมเช็คให้เรียบร้อยนะครับ เน้นย้ำว่าเอกสารอะไรที่ออกจากหน่วยงานราชการ หรือ จำเป็นต้องใช้ตัวจริงทำพิธีการศุลกากรต้องตรวจให้ละเอียดครับ เพราะหากผิดขึ้นมาจะต้องให้ทางต้นทางทำมาใหม่ หรืออาจจะต้องส่งตัวที่ผิดกลับไปแก้ไขที่ต้นทางด้วยนะครับ

เมื่อเสร็จขั้นตอนเหล่านี้ก็รอให้เรือมาถึงไทยครับ

แนะนำให้อ่าน: ศัพท์ชิปปิ้งใช้บ่อยที่คุณต้องรู้

เมื่อเรือถึงก็จะเป็นขั้นตอนของ D/O, Delivery Order ซึ่งเป็นเอกสารใช้สำหรับไปทำพิธีการเคลียสินค้าขาเข้า ตรงนี้ก็ต้องทำการยืนยันข้อมูลบน B/L, Bill of lading ให้กับทางผู้ขนส่งเพื่อออก D/O คุณก็คอนเฟิร์มกลับไปให้ผู้ขนส่งให้ตรงกับความเป็นจริง ทั้งชื่อบริษัท และ รายละเอียดต่าง ๆ ของตัวสินค้า ในขั้นตอนนี้อาจจะขอให้ชิปปิ้งเป็นคนทำให้ได้ถ้าไม่มีอะไรเป็นพิเศษ

ส่วนเรื่องเอกสารที่ต้องใช้ทำพิธีการศุลกากรให้เตรียมให้ครบ ค่าภาษี และ ค่าแลกดีโอ หากเอกสารตัวไหนต้องใช้ตัวจริงเท่านั้นก็ต้องรอให้ตัวจริงมาถึงก่อนนะครับ รวบรวมเอกสารครบแล้วก็ส่งเอกสารเหล่านี้ให้กับชิปปิ้งไปเคลียของครับ

ข้อควรระวัง

  • LOCAL CHARGE อาจจะสูงผิดปกติ คุณควรจะให้ทางผู้ส่งออกแจ้งมาก่อนทุกครั้ง เพื่อเตรียมตัวคำนวนต้นทุนได้อย่างชัดเจน
  • เอกสารอาจจะล่าช้า คุณควรจะคอนเฟิร์มเอกสารต่าง ๆ ภายหลังจากเรือออกไม่เกิน 2 วัน เอกสารจะได้เสร็จทันก่อนที่เรือจะถึง หากมีเอกสารสำคัญให้ตามงานบ่อย ๆ ครับ
  • CFR(CNF) ผู้ขายต้องส่งถึงท่าที่ไทยก็จริง แต่ผู้นำเข้าต้องรับผิดชอบความเสี่ยงที่สินค้าจะหาย/พังตั้งแต่เมื่อผู้ส่งออกส่งสินค้าถึงท่าเรือต้นทางเรียบร้อยแล้ว ภาระหน้าที่ในการทำประกันจึงตกอยู่ที่ผู้นำเข้านะครับ

การใช้เทอมขนส่งที่ผู้ส่งออกเป็นคนจัดการแทบจะทั้งหมด จะได้ผลดีที่สุดถ้าผู้ส่งออกเก่งและเป็นงาน หากเจอผู้ส่งออกที่ไม่ค่อยดูแลอะไรให้เลย ผู้นำเข้าจะเหนื่อยเหมือนเดิมหรือมากกว่าเดิม เพราะจัดการอะไรเองก็ไม่ค่อยได้ ต้องทำผ่านผู้ส่งออกเท่านั้น ถ้าได้เจอแบบนี้จริง ๆ คุณควรจะลองหันมาใช้ FOB หรือ EXW จะดีกว่าครับ

สอบถามบริการ หรือ พูดคุยปรึกษากับเราได้หลากหลายช่องทางดังนี้ครับ
LINE ID: @expt.co
FACEBOOK: @expt.co
EMAIL: [email protected]

Previous article​วิธีจัดการชิปเม้นท์นำเข้าทางเรือในฤดูมรสุม
Next articleReefer Container ขนส่งสินค้าด้วยตู้ควบคุมอุณหภูมิ
เซลส์เฟรทฯ ผู้หันหลังให้กับ Tele-Marketing มาทุ่มเทให้กับการทำ Online Marketing แบบเต็มตัว

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here