FOB, EXW, CIF และ CFR(CNF) คือเทอมหลัก ๆ ที่ผู้นำเข้าใช้ประจำและมีคำถามบ่อยที่สุดด้วย แม้มันจะง่ายมากก็ตามแต่ผมก็ต้องอธิบายเรื่องนี้อยู่บ่อย ๆ เลยละครับ ผมก็เลยคิดว่าก็น่าจะมีหลายคนที่สงสัยและไม่เข้าใจกันอยู่พอสมควรแน่นอน ดังนั้นวันนี้จึงขอเขียนให้ความกระจ่างกันเพื่อประโยชน์ของคุณ ๆ ที่กำลังจะเริ่มนำเข้าส่งออกครับ

เทอมการขนส่งนั้นจะแบ่งภาระค่าใช้จ่ายให้ฝั่งผู้นำเข้าและส่งออกได้รับผิดชอบแตกต่างกันไป ก่อนจะเลือกใช้เทอมการขนส่งแบบไหน คุณควรจะรู้ก่อนว่าแต่ละเทอมแบ่งส่วนความรับผิดชอบของผู้นำเข้าอย่างคุณและส่วนของผู้ส่งออกอย่างไร เพื่อประโยชน์สูงสุดของธุรกิจนำเข้าของคุณเอง ซึ่งก็คือเรื่องที่ผมกำลังจะเขียนต่อไปนี้ครับ

Tip: วิธีจำที่ง่ายที่สุดคือ จำว่าผู้ส่งออกรับผิดชอบจากจุดไหนถึงจุดไหน และ ผู้นำเข้ารับผิดชอบตั้งแต่ตรงไหนครับ

fob exw cnf cfr cif

รูปนี้แสดงในส่วนของผู้นำเข้านะครับ

CIF, Cost Insurance Freight / CFR(CNF), Cost and Freight

เทอมการขนส่งที่กำหนดให้คุณที่เป็นผู้นำเข้า รอรับสินค้าที่ท่าปลายทางและเลือกหาชิปปิ้งไปเคลียสินค้าที่ท่าที่นำเข้าครับ ส่วนที่เป็นการขนส่งจากหน้าโรงงานจนถึงการส่งออกมาถึงท่าเรือฝั่งผู้นำเข้า ผู้ส่งออกจะเป็นคนเลือกหาบริการเองจ่ายค่าใช้จ่ายในการส่งออกที่ต้นทาง แต่จะมาชาร์จคุณในรูปแบบต่าง ๆ กันไป แล้วแต่ตกลงก่อนการซื้อขาย

สรุป ผู้ขายส่งถึงไทยแต่คุณต้องไปเคลียของที่ท่าเรือ / ท่าอากาศยาน หรือจ้างชิปปิ้งไปทำแทนก็ได้ครับ

แนะนำให้อ่าน: ปัญหาค่าแลก D/O แพง เมื่อนำเข้าด้วยเทอม CFR/CFR(CNF)

FOB, Free On Board

เทอมนี้ผู้นำเข้าต้องจัดหาระวางให้กับผู้ขาย โดยผู้ขายฝั่งส่งออกจะนำสินค้าไปส่งที่เรือหรือเครื่องบินที่คุณซื้อระวางไว้ เทอมนี้จะนิยมมากที่สุด เพราะกำหนดเวลาได้ดี มีคนดูแลตารางเรือที่ฝั่งของผู้นำเข้าไม่ต้องลุ้น แถมจะดูแลดีเป็นพิเศษเพราะคุณจ่ายค่าขนส่งระหว่างประเทศนั่นเองครับ ค่าใช้จ่ายส่วนชิปปิ้งก็เหมือนเดิมครับ คุณก็จัดหาชิปปิ้งไปเคลียสินค้านำเข้าหรือจะลองไปเคลียเองก็ได้นะครับ

สรุป ผู้ซื้อหาเรือ/เครื่องบินไว้ ผู้ขายจะไปส่งของให้คุณที่เรือ/เครื่องบินที่เฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ของผู้นำเข้าได้จองไว้ ค่าใช้จ่ายก็จะมีค่าขนส่งระหว่างประเทศ และ ค่าชิปปิ้ง

แนะนำให้อ่าน: เทอม FOB คือเทอมแบบไหน เหมาะกับใคร?

EXW, EX-WORK

ตั้งแต่หน้าโรงงานของผู้ส่งออก จนถึงหน้าบ้านของผู้นำเข้า ผู้นำเข้าต้องจัดการเองทั้งหมด เหมาะมากสำหรับสินค้าทุกประเภท เพราะจริง ๆ แล้วค่าใช้จ่ายนั้นไม่เคยหายไปไหนและคนจ่ายก็คือผู้นำเข้าอยู่แล้ว ไม่ว่าจะถูกซุกอยู่ในค่าใช้จ่ายแบบไหนก็ตามสุดท้ายผู้นำเข้าก็จ่ายอยู่ดี

สรุป ผู้นำเข้าขนเองตั้งแต่หน้าโรงงาน โดยค่าใช้จ่ายทั้งสามส่วนคือค่าใช้จ่ายในประเทศต้นทาง ค่าขนส่งระหว่างประเทศ และค่าใช้จ่ายฝั่งผู้นำเข้าในประเทศไทย ผู้นำเข้ารับผิดชอบจัดหาเองทั้งหมด

แนะนำให้อ่าน: ทำไม Ex-work(EXW) คือทางเลือกที่ดีที่สุดของผู้นำเข้า?

จบแล้วครับ ง่ายมากเลยใช่มั้ยครับ :)

สอบถามบริการ หรือ พูดคุยปรึกษากับเราได้หลากหลายช่องทางดังนี้ครับ
LINE ID: @expt.co
FACEBOOK: @expt.co
EMAIL: [email protected]

Previous articleราคาไม่ใช่คำตอบของการเลือกผู้ให้บริการ
Next articleแตกต่าง
เซลส์เฟรทฯ ผู้หันหลังให้กับ Tele-Marketing มาทุ่มเทให้กับการทำ Online Marketing แบบเต็มตัว